วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิจิ หมายเลข 1 ยังมีควันพุ่ง

Share

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิจิ หมายเลข 1 ยังมีควันพุ่ง



โรงงานพลังงานนิวเคลียร์



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยโพสต์


ความ คืบหน้าความเสียหายในโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ-ไดอิจินั้น องค์การความปลอดภัยในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ประเมินว่า แท่งเชื้อเพลิงที่เตาปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 ได้รับความเสียหายราว 70% ขณะที่สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า แท่งเชื้อเพลิงของหน่วยที่ 2 ได้รับความเสียหาย 33% และแกนของเตาหน่วยที่ 1 และ 2 ได้หลอมละลายบางส่วนแล้ว

ด้านสถานการณ์ล่าสุดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิจิ หมายเลข 1 ยังพบว่ามีกลุ่มควันพวยพุ่งออกมาจากเตาปฏิกรณ์ที่ 3 ทำให้รัฐบาลต้องออกมากล่าวถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายขึ้นกับแท่ง เชื้อเพลิงนิวเคลียร์และมีโอกาศมากขึ้นที่กลุ่มควันที่พวยพุ่งขึ้นมานั้น จะหอมเอาสารกัมมันตรังสีขึ้นมาด้วย

โดย หน่วยงานด้านความปลอดภัยอุตสาหกรรมและนิวเคลียร์ แนะนำว่า อันดับแรกควรจะเทน้ำเย็นลงไปในบ่อเก็บเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์หมายที่ 3 และ 4 ขณะที่ทางบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ หรือเทปโก้ ได้ร้องขอไปยังหน่วยงานตำรวจนครบาลในกรุงโตเกียว เพื่อจัดเตรียมรถบรรทุกฉีดน้ำแรงดันสูง 1 คันมาไว้ยังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ เพื่อที่จะฉีดแรงดันสูงเข้าไปยังบ่อเก็บเชื้อเพลิง โดยคาดว่ารถบรรทุกจะมาถึงที่สถานีไฟฟ้าฟุกุชิมะ ช่วงเช้าวันที่ 17 มีนาคม (ตามเวลาท้องถิ่น)

ขณะ ที่ประธานาธิบดีอูโก ชาเวซ ของเวเนซุเอลา เผยว่า ได้สั่งยุติแผนการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์แล้ว "เป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงมากและเป็นอันตรายแก่โลก ขนาดญี่ปุ่นซึ่งมีเทคโนโลยีและมีความก้าวหน้าก็ยังเจอวิกฤติ" วันเดียวกัน คณะรัฐมนตรีของจีนประกาศว่าจีนได้ระงับการอนุมัติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์แห่งใหม่แล้ว ซึ่งจีนกำลังก่อสร้างเตาปฏิกรณ์ประมาณ 28 หน่วย หรือราว 40% ของโครงการที่กำลังก่อสร้างรวมกันทั้งโลก

ใน ขณะที่ประธานาธิบดีลี มุงบัก ของเกาหลีใต้ ก็ได้สั่งการให้ตรวจสอบความปลอดภัยที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในประเทศ โดยเฉพาะการประเมินความพร้อมรับมือภัยธรรมชาติ ซึ่งเกาหลีใต้มีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 21 ตัว ผลิตไฟฟ้าได้ 40% ของประเทศ และกำลังหาพื้นที่เพื่อสร้างเตาปฏิกรณ์เพิ่ม

สำหรับ ความเคลื่อนไหวในไทยนั้น แถลงการณ์ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับที่ 7 ได้แจ้งข้อมูลปริมาณรังสีแกมมาในอากาศ ที่สถานเฝ้าระวังทางรังสีแห่งชาติ เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 15 มีนาคม ว่าทั้งหมดอยู่ในระดับปกติของรังสีที่มีในธรรมชาติ โดย กทม. มีอัตรา 0.045 ไมโครซีเวิร์ต, เชียงใหม่ 0.042 ไมโครซีเวิร์ต, ขอนแก่น 0.054 ไมโครซีเวิร์ต, อุบลราชธานี 0.068 ไมโครซีเวิร์ต, ตราด 0.084 ไมโครซีเวิร์ต, ระนอง 0.101 ไมโครซีเวิร์ต และสงขลา 0.050 ไมโครซีเวิร์ต


[16 มีนาคม] ญี่ปุ่นถอนเจ้าหน้าที่ ออกจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะด่วน

ทางการญี่ปุ่น สั่งถอนกำลังเจ้าหน้าที่ออกจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ด่วน เร่ง ขอเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่ทหารสหรัฐฯ เข้าดำเนินการแทน หลังพยายามแก้ไขปัญหาแกนเตาปฏิกรณ์มาถึง 3 วัน

รายงานจากสำนักข่าวต่างประเทศวันนี้ (16 มีนาคม) ว่า ขณะนี้ ทาง รัฐบาลญี่ปุ่น มีคำสั่งห้ามเจ้าหน้าที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกุชิมะ เป็นอันขาด เนื่องจากในช่วงเช้าที่ผ่านมา เกิดเหตุไฟไหม้ซ้ำที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ทั้งนี้ ทางรัฐบาลเกรงว่า เจ้าหน้าที่จะได้รับอันตราย เพราะระบบความร้อนของเตาปฏิกรณ์ได้เสียหายทั้งหมด ส่งผลให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกมาให้ปริมาณที่เป็นอันตรายต่อชีวิต มนุษย์ จึงเร่งย้ายเจ้าหน้าที่ และคนงานออกจากที่ดังกล่าวโดยด่วน หลังจากที่พยายามแก้ไขปัญหาของเตาปฏิกรณ์มาถึง 3 วัน

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานนิวเคลียร์ญี่ปุ่นได้คาดการณ์ว่า แท่งปฏิกรณ์หมายเลข 1 จะเสียหายมากถึง 70 % จากการระเบิดของอาคารครอบเตาหมายเลข 1 และ เตาหมายเลข 2 จะเสียหายมากถึง 33 % ส่วนเตาหมายเลข 4 ที่เกิดไฟไหม้ ยังไม่สามารถยืนยันความเสียหายได้ ทางด้านเตาปฏิกรณ์หมายเลข 5 และ 6 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น เสี่ยงระเบิด หลังอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังใช้ความสามารถอย่างสุดความสามารถ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระเบิดของก๊าซไฮโดรเจนขึ้นเหมือนกับที่เตาปฏิกรณ์ หมายเลข 4


ขณะที่ ทางการญี่ปุ่นได้ขอให้ทหารสหรัฐอเมริกา และผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือและดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ทางการญี่ปุ่นได้ระงับแผนการที่ใช้เฮลิคอปเตอร์เทน้ำเพื่อป้องกันการไหลของ รังสีแล้ว เพราะหวั่นที่จะกลัวการผิดพลาด ส่วนทาง ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA เตรียมส่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้อมและการประสานงานให้ ความช่วยเหลือไปยังประเทศญี่ปุ่นเร็ว ๆ นี้


พร้อมกันนี้ ทางองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO (World Meteorological Organization) เปิดเผยว่า สภาพแวดล้อม ทางอุตุนิยมวิทยาในขณะนี้บ่งบอกว่า สาร กัมมันตรังสีที่รั่วไหลจากโรงงานนิวเคลียร์ ใน จ. ฟูกุชิมะ ญี่ปุ่น ถูกพัดออกนอกชายฝั่งแล้ว แต่เตือนว่า อาจเกิดความผันผวนขึ้นได้ เพราะระบบอากาศมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงยังไม่อาจระบุได้อย่างชัดเจนว่า อีก 2-3 วันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น

สำหรับ สำนักงานความปลอดภัยนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส ยกระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะของญี่ปุ่น อยู่ที่ระดับ 6 จาก 7 ตามมาตรฐานสากล ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับอุบัติเหตุร้ายแรง โดยระดับขั้นความรุนแรงของอุบัติเหตุครั้งนี้อยู่ตรงกลางระหว่างอุบัติเหตุ ที่ ทรี ไมล์ ไอแลนด์ รัฐเพนซิลเวเนีย ในปี 2522 ซึ่งมีความรุนแรงอยู่ที่ระดับ 5 ส่วนอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล อยู่ที่ระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด










[15 มีนาคม]รังสีรอบโรงนิวเคลียร์-กรุงโตเกียว ลดลงแล้ว

บ่อ หล่อเย็น เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ 2 โรงงานไฟฟ้าในฟุกุชิมะ เกิดระเบิด เจ็บ 15 ราย ขณะที่เตาหมายเลข 4 เกิดไฟไหม้ สารรั่วไหลรุนแรง สั่งอพยพคนแล้ว ชี้สารกัมมันตรังสีรอบโรงไฟฟ้าอยู่ในระดับอันตราย แพร่ถึงโตเกียวสูงกว่ามาตรฐาน 20 เท่า ก่อนลดระดับลงแล้วในช่วงเย็น

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2554 สำนักข่าวของญี่ปุ่น รายงานว่า เวลา 06.10 น. ตามเวลาท้องถิ่น เกิดเหตุบ่อหล่อเย็นข้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ 2 ในโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะได้ระเบิดขึ้น ทำให้เตาปฏิกรณ์ได้รับความเสียหาย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 15 คน รัฐบาลญี่ปุ่น คาดมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการรั่วไหลอย่างรุนแรง เร่งอพยพประชาชนในรัศมีโดยรอบแล้ว

ทั้ง นี้ บริษัท โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ ระบุว่า สถานการณ์ระเบิดที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 2 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เมื่อเช้านี้ อาจอยู่ในขั้นหลอมละลาย ซึ่งถือว่าเป็นขั้นที่อันตราย แรงระเบิดทำให้ระบบควบคุมแรงดันเสียหาย ส่งผลให้ระดับการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีเพิ่มสูงขึ้นทันทีเป็น 965.5 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ก่อนพุ่งสูงขึ้นเป็น 8,217 ไมโครซีเวิร์ตในอีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมา ซึ่ง ตัวเลขนี้สูงกว่าถึง 8 เท่าของระดับที่ประชาชนจะได้รับตามธรรมชาติในเวลา 1 ปี อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้สั่งให้อพยพคนงานออกจากโรงไฟฟ้าแล้ว ยกเว้นคนที่มีหน้าที่สำคัญในการระบายความร้อนของเตาปฏิกรณ์

สำหรับ ซีเวิร์ต คือหน่วยที่ใช้วัดปริมาณของรังสีที่เนื้อเยื่อได้รับ โดยปกติแล้วคนเราจะรับสารกัมมันตรังสีต่อปีที่ 1,000 ไมโครซีเวิร์ต


เกิดไฟไหม้ เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ล่าสุดดับแล้ว


เกิดไฟไหม้ เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4


นายนาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์ แสดงความเป็นห่วงต่อประชาชนในเมืองฟุกุชิมะ หลังจากเกิดระเบิดที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 1 - 3 ระเบิด และมีรายงานว่า ได้เกิดไฟไหม้ ที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ด้วย โดยเตือนให้ประชาชนอยู่ในบ้านอย่างสงบ และรอการอพยพออกจากพื้นที่รัศมีโดยรอบ 30 กิโลเมตร เพื่อความปลอดภัย ซึ่งทางโฆษกญี่ปุ่น เปิดเผยว่า การที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ไฟไหม้ ทำให้มีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีเพิ่มมากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าเมื่อเวลาประมาณ 12.00 น. เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเพลิงได้แล้ว

ด้าน นายยูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกรัฐบาล กล่าวว่า ยังไม่สามารถยืนยันถึงความเสียหาย และการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีแต่อย่างใด ส่วนโฆษกของหน่วยงานด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์ญี่ปุ่น นายชิเกกาสึ โอมุคาอิ กล่าวว่า แกนของนิวเคลียร์ ไม่ได้รับความเสียหาย แต่อาจจะทำให้อุปกรณ์ครอบแกนได้รับความเสียหาย


พบโพรงนอกเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4

หน่วย งานด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ตรวจพบโพรงขนาด 8 ตารางเมตร จำนวน 2 โพรง บริเวณกำแพงด้านนอกอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 หลังจากเกิดเหตุไฟไหม้เมื่อเช้านี้ ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า น้ำที่อยู่บริเวณบ่อเก็บพลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้แล้วของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 อาจจะกำลังเดือด และระดับน้ำกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง


คาดกัมมันตรังสี ถึงโตเกียวใน 10 ชม.

นายก รัฐมนตรี นาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่น ได้ออกประกาศทางสถานีโทรทัศน์ให้ประชาชน ในรัศมี 30 กิโลเมตร ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกิชิมะ ออกจากพื้นที่โดยด่วน เนื่องจากมีค่าระดับสารกัมมันตภาพรังสีเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังเตือนไปถึงประชาชนว่า ควรอยู่ให้ไกลรัศมี 20-30 กิโลเมตร รวมถึงไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลม ที่จะมีการดูดอากาศแต่อย่างใด และต้องปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด เพื่อความปลอดภัยจากสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหล

ด้าน สถานทูตฝรั่งเศสในญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์เตือนพลเมืองของตนเองว่า รังสีที่รั่วไหล อาจถึงกรุงโตเกียวใน 10 ชั่วโมง ประชาชนจึงไม่ควรออกจากบ้าน และควรปิดประตูหน้าต่างมิดชิด เพื่อป้องกันสารกัมมันตรังสีด้วย


นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยอมรับระดับรังสีอันตราย

นายก รัฐมนตรี นาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่น ระบุว่า ปริมาณกัมมันตรังสีรอบ ๆ โรงไฟฟ้าฟูกุชิมะ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยรั่วไหลออกมาพร้อมกับก๊าซไฮโดรเจน อยู่ในระดับอันตราย มากกว่าระดับมาตรฐานความปลอดภัยถึง 4 เท่า ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ และสามารถตรวจจับได้ไกลถึงกรุงโตเกียว ซึ่งอยู่ห่างออกไป 250 กิโลเมตร


สารกัมมันตรังสีในโตเกียวเพิ่มสูงเกือบ 20 เท่า

การ วัดระดับสารกัมมันตรังสีได้ในกรุงโตเกียวล่าสุด วันนี้ (15 มี.ค.54) พบว่า อยู่ในระดับเกินกว่าปกติเกือบ 20 เท่า แต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยอยู่ในระดับ 0.809 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง ขณะที่ระดับปลอดภัย คือ 500 ไมโครซีเวิร์ต ซึ่งทางรัฐบาลยอมรับว่า ระดับของการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี บริเวณใกล้โรงไฟฟ้า อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว

อย่าง ไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อช่วงบ่ายของวันนี้ ทางกรุงโตเกียว ระบุว่าระดับของรังสีลดลงมาอยู่ที่ 0.075 ไมโครซีเวิร์ต ซึ่งถือว่าใกล้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ยังต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด


ระทึก! อิราบากิ วัดรังสีรั่วไหลได้ 100 เท่าของระดับปกติ

จาก การระเบิดของเตาปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิม่า ส่งผลให้รังสีรั่วไหลออกมาในปริมาณมาก โดยในจังหวัดอิราบากิ ทางตอนใต้ของฟุกุชิม่า วัดปริมาณรังสีที่รั่วไหลออกมาได้ 100 เท่าของระดับที่ประชาชนจะได้รับตามธรรมชาติ ขณะที่ในจังหวัดคานากาว่า ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโตเกียว วัดปริมาณรังสีได้เกือบ 9 เท่าของระดับที่ประชาชนจะได้รับตามธรรมชาติ


คาด 160 คน อาจได้รับสารกัมมันตรังสี

หน่วยงานความปลอดภัยทางอุตสาหกรรมและนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น กล่าวว่า มีผู้คน 160 ราย อาจได้รับสารกัมมันตรังสีรอบโรงงาน และมีพนักงาน 3 ราย ได้รับสารกัมมันตรังสีอย่างเต็มขั้น นอกจากนี้ ยังมีรายงานเปิดเผยว่า มีประชาชนได้รับสารกัมมันตรังสีเพิ่มขึ้นอีก 19 คน

สำหรับ โรงงานไฟฟ้าฟุกุชิมะ ไดอิจิ มีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งสิ้น 6 เตา เตาหมายเลข 1 เป็นเตาที่มีอายุการใช้งานมากที่สุด โดยเริ่มปฏิบัติงานนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ.1971 ขณะที่เตาหมายเลข 2 เริ่มปฏิบัติการเชิงพาณิชย์เมื่อปี ค.ศ.1974 ขณะที่เตาหมายเลข 3 เริ่มใช้งานอีก 2 ปีต่อมา


สหรัฐฯ ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ไปญี่ปุ่น

มี รายงานว่า ทางสหรัฐอเมริกา ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ และผู้จัดการด้านพลังงานนิวเคลียร์ เดินทางไปญี่ปุ่นเพิ่มเติมอีก 8 คน ตามการร้องขอ ซึ่งทีมดังกล่าว จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านคำแนะนำ และเทคนิคอื่น ๆ เพื่อพยายามปิดการทำงานของเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ รวมทั้งศึกษาป้องกันถึงผลกระทบของรังสีที่รั่วไหลออกมา อันอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ โดยทีมงานจะเดินทางถึงโตเกียว ภายในวันพุธที่ 16 มี.ค.นี้


ทำความรู้จักกับ สารกัมมันตรังสี

สาร กัมมันตรังสี คือ สารที่สลายตัวปลดปล่อยรังสีออกมา โดย รังสี คืออนุภาคหรือคลื่นที่ปลดปล่อยออกมาจากอะตอมของสารกัมมันตรังสี จึงไม่มีสี กลิ่น หรือสิ่งที่ทำให้สังเกตเห็นได้ สามารถจำแนกตามลักษณะการเกิดได้จาก 2 แหล่ง ดังนี้

1. จากธรรมชาติ สารกัมมันตรังสีจากธรรมชาติ เช่น ยูเรเนียม 235 , ยูเรเนียม 238, คาร์บอน 14 ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดของโลก

2. จากมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (Nuclear reactor) หรือในเครื่องเร่งอนุภาค ซึ่งสารกัมมันตรังสีที่ได้จากการผลิต เช่น โคบอลต์ 60, ไอโอดีน 131 , ซีเซียม 137, นิวตรอน

สำหรับ สารกัมมันตรังสีทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะให้รังสีออกมา ได้แก่ รังสีแอลฟ่า , รังสีเบต้า , รังสีแกมมา นิวตรอน นอกจากนี้ รังสีที่เป็นที่รู้จักกันดีและใช้กันอย่างกว้างขวางมีประโยชน์มากมาย ได้แก่ รังสีเอกซ์(X-ray) สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางการแพทย์ อุตสาหกรรม การเกษตรและงานวิจัยต่าง ๆ ขณะเดียวกัน รังสี ก็มีอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน

อันตรายจากรังสีต่อมนุษย์

1. การได้รับรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีจากภายนอก ( External exposure ) ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ขึ้นอยู่กับความแรงของแหล่งกำเนิดและระยะเวลาที่ได้รับรังสี แต่ตัวผู้ที่ได้รับอันตรายไม่ได้สารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย จึงไม่มีการแผ่รังสีไปทำอันตรายผู้อื่น

2. การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย ( Internal exposure ) มักพบในกรณีมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ที่ เป็นก๊าซ ของเหลว หรือฝุ่นละอองจากแหล่งเก็บสารกัมมันตรังสี หรือที่เก็บกากสารกัมมันตรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เช่น ที่เชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย การระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น

ทั้ง นี้ การกระจายของสารกัมมันตรังสีจะฟุ้งไปในอากาศ น้ำ มนุษย์อาจได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจฝุ่นละอองของรังสี, กินของที่เปรอะเปื้อน, การฝั่งสารกัมมันตรังสีเพื่อการรักษา สารกัมมันตรังสีที่อยู่ในร่างกายจะแผ่รังสีออกมา ทำอันตรายต่อร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนกว่าจะถูกกำจัดออกไปจากร่างกายจนหมด และยังสามารถแผ่รังสีไปทำอันตรายคนที่อยู่ใกล้เคียงได้


ผลกระทบจากสารกัมมันตรังสีต่อร่างกายมนุษย์

องค์การ สากลในการป้องกันอันตรายจากรังสี หรือ International Commission on Radiological Protection (ICRP) ได้รวบรวมผลกระทบจากรังสีต่อร่างกายไว้ ดังนี้




มิลลิซีเวิร์ต คือ หน่วยวัดปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับ โดยคำนึงถึงผลของรังสีที่มีต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิต


รังสีที่มีความถี่สูงมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต มีดังนี้







อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
, โรงพยาบาลวิภาวดี, bangkapi.ac.th

สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม

Share

สุดซึ้ง! สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม

สุดซึ้ง! สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม


สุดซึ้ง สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม

สุดซึ้ง สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม


สุดซึ้ง สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม

สุดซึ้ง สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม

สุดซึ้ง สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม

สุดซึ้ง สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม

สุดซึ้ง สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม

สุดซึ้ง สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม

สุดซึ้ง สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม

สุดซึ้ง สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม

สุดซึ้ง สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม

สุดซึ้ง สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก youtube.com

ในยามที่ ประเทศญี่ปุ่น กำลังบอบช้ำอย่างหนักจากมหันตภัยธรรมชาติ และประชาชนชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก ต้องเผชิญกับความสูญเสีย คราบน้ำตา และความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส เราได้เห็น "น้ำใจ" จากนานาประเทศที่ส่งความช่วยเหลือมากมายมายังเพื่อนร่วมโลกของพวกเขา...หาก แต่ยังมีน้ำใจในบางมุมที่คุณอาจยังไม่ได้รับรู้...

โดยล่าสุด สำนักข่าวญี่ปุ่น ได้เผยแพร่ภาพที่มีคนเข้าทำการสำรวจพื้นที่เสียหาย และทีมงานของพวกเขาได้พบกับสุนัขสีขาวสลับน้ำตาลตัวหนึ่งรอดชีวิต มันวิ่งตรงเข้ามาหานักข่าว และส่งเสียงเห่า ก่อนจะวิ่งกลับไปนั่งข้าง ๆ สุนัขอีกตัวหนึ่งที่คาดว่าอาจจะได้รับบาดเจ็บจากเหตุสึนามิ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเหมือนกำลังจะบอกให้คนรับรู้และนำเพื่อนของมันไปรักษา

แม้ ว่าท่าทีและสายตาของสุนัขตัวนั้นยังจะดูหวาดกลัวต่อสิ่งที่เกิดขึ้น และสิ่งต่าง ๆ รอบตัว แต่อย่างน้อย ความรักความเอื้ออาทรที่มีต่อเพื่อนสุนัขด้วยกัน ก็แสดงให้เห็นน้ำใจของสัตว์ที่กำลังเผชิญชะตากรรมไม่ต่างจากมนุษย์ในเวลานี้

ทั้ง นี้ ตามรายงานระบุว่า สุนัขทั้งสองตัวได้รับการช่วยเหลือแล้ว ด้วยการส่งตัวไปรักษาในโรงพยาบาลสัตว์อิบารากิ โดยตัวสีขาวอยู่ในสภาพอ่อนแอ ส่วนสุนัขอีกตัวแข็งแรงดี แต่มันยังคงมีอาการหวาดกลัว ขณะที่ยังมีสุนัขอีกจำนวนมากในพื้นที่ประสบภัยรอคอยการช่วยเหลืออยู่ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยจะเร่งเข้าให้ความช่วยเหลือต่อไป และหวังว่ามันจะได้หวนคืนสู่เจ้าของอีกครั้ง แต่ขณะเดียวกันก็หวั่นว่า เหตุการณ์สึนามิครั้งนี้จะทำให้สัตว์เลี้ยงไร้เจ้าของเพิ่มขึ้น หลังจากมีผู้คนเสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้ทางทีมกู้ภัยได้ขอรับบริจาคเงินเพื่อใช้ในการพยาบาลและสงเคราะห์ สัตว์เลี้ยงเหล่านี้แล้วในเบื้องต้น เพื่อนำไปรักษาสัตว์เลี้ยงที่รอดชีวิตจากสึนามิต่อไป






คลิป สุดซึ้ง สุนัขเฝ้าเพื่อนตูบ หลังสึนามิถล่ม